Zero Trust มีหลักการสำคัญว่า "อย่าเชื่อใครทันที ต้องตรวจสอบก่อนเสมอ" ทุกการเข้าถึงระบบต้องผ่าน การยืนยันตัวตนและการอนุญาตอย่างเข้มงวด โดยไม่ถือว่าผู้ใช้หรืออุปกรณ์ใดปลอดภัยตั้งแต่แรก Zero Trust ไม่ใช่แค่แนวคิดแต่เป็นกลยุทธ์ด้านความปลอดภัยที่ช่วยปกป้องข้อมูลขององค์กรโดย ตรวจสอบการเข้าถึงและพฤติกรรมของผู้ใช้ตลอดเวลา วิธีนี้ช่วยลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามภายในและการโจมตีทางไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในบทความนี้ เราจะพาคุณไปรู้จักว่า Zero Trust คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้แบบไหน พร้อมแนะนำโซลูชันจาก Safetica ที่จะช่วยให้คุณสามารถปรับใช้แนวทาง Zero Trust ได้ง่ายขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพในการปกป้องข้อมูลให้กับองค์กรของคุณ
มาทำความเข้าใจกับ 5 หลักการสำคัญของ Zero Trust

Identity: Zero Trust ให้ความสำคัญกับการยืนยันตัวตนของผู้ที่เข้าถึงระบบ ควรใช้วิธีการยืนยันตัวตนหลายชั้น (MFA) เช่น การส่งรหัส OTP ไปยังโทรศัพท์ของผู้ใช้ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยมากกว่าการใช้รหัสผ่านเพียงอย่างเดียว
Device: อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายต้อง ผ่านมาตรฐานความปลอดภัย ควรใช้ เครื่องมือป้องกันอุปกรณ์ (Endpoint Protection) เพื่อช่วยตรวจสอบและป้องกันมัลแวร์ รวมถึงอัปเดตแพตช์ล่าสุดอย่างสม่ำเสมอก่อนอนุญาตให้เข้าถึงเครือข่าย
Network: Zero Trust แนะนำให้แบ่งเครือข่ายออกเป็นส่วนย่อย (Micro-segmentation) เพื่อจำกัดขอบเขตการเข้าถึงและลดการแพร่กระจายของภัยคุกคาม ควรใช้หลัก “Least Privilege” หรือการให้สิทธิ์เท่าที่จำเป็น เพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงเฉพาะระบบหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ของตนเท่านั้น
Application: ควรใช้ซอฟต์แวร์ที่สามารถตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามได้แบบเรียลไทม์ เพื่อให้แน่ใจว่ามีเฉพาะผู้ใช้งานที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงระบบหรือแอปพลิเคชันสำคัญได้
Data:การปกป้องข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะอยู่ในระหว่างจัดเก็บ ส่งต่อ หรือถูกนำไปใช้ ควรใช้ การเข้ารหัสข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ควบคู่กับ โซลูชันป้องกันการสูญหายของข้อมูล (DLP - Data Loss Prevention) เพื่อป้องกันการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต และลดความเสี่ยงของข้อมูลรั่วไหล พร้อมทั้งเฝ้าระวังและตรวจสอบความผิดปกติอยู่เสมอ
วิธีนำแนวคิด Zero Trust มาใช้ในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
การปรับใช้ Zero Trust Model ในองค์กรอาจดูซับซ้อน แต่หากทำตามคำแนะนำเหล่านี้ จะช่วยให้กระบวนการเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- วางแผนโครงสร้างเครือข่าย: เริ่มต้นด้วย การทำแผนผังเครือข่ายอย่างละเอียด ระบุองค์ประกอบทั้งหมด เช่น ผู้ใช้ อุปกรณ์ บริการ และข้อมูล เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนว่าต้องป้องกันอะไรบ้าง และมีจุดอ่อนตรงไหนที่อาจถูกโจมตี
- สร้างตัวตนเฉพาะสำหรับทุกระบบ: ผู้ใช้ อุปกรณ์ และบริการทุกอย่างควรมีตัวตนเฉพาะของตัวเอง พร้อมใช้ การยืนยันตัวตนหลายขั้นตอน (MFA) เช่น การส่งรหัส OTP ไปยังโทรศัพท์ของผู้ใช้เพื่อเพิ่มความปลอดภัย
- ติดตามพฤติกรรมของผู้ใช้และอุปกรณ์: เฝ้าดูพฤติกรรมการใช้งานและสถานะอุปกรณ์ โดยเฉพาะหากมีนโยบาย Bring Your Own Device (BYOD) ควรใช้เครื่องมืออย่าง EDR (Endpoint Detection & Response) เพื่อตรวจจับกิจกรรมที่ผิดปกติ
- กำหนดนโยบายควบคุมการเข้าถึง:สร้างนโยบาย กำหนดสิทธิ์การเข้าถึงแบบละเอียดและเฉพาะเจาะจง ควบคุมว่าใครสามารถเข้าถึงข้อมูลหรือระบบใดได้บ้าง โดยพิจารณาจากเงื่อนไขและเกณฑ์ที่กำหนดไว้
- ใช้หลายปัจจัยในการยืนยันตัวตน: เสริมความปลอดภัยด้วย การใช้ปัจจัยหลายอย่างในการยืนยันตัวตน เช่น ตำแหน่งอุปกรณ์ สถานะอุปกรณ์ ตัวตนของผู้ใช้ และพฤติกรรมการใช้งาน เพื่อประเมินความเสี่ยงอย่างรอบด้าน
- ติดตามและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง: ตรวจสอบ ผู้ใช้ อุปกรณ์ และบริการ ตลอดเวลา เพื่อตรวจจับภัยคุกคามได้เร็วขึ้น และนำระบบตรวจสอบมาเชื่อมต่อกับนโยบายการเข้าถึง เพื่อให้ปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์
- ใช้ Zero Trust กับทุกเครือข่าย: อย่าคิดว่าเครือข่ายไหนปลอดภัย ควรใช้ Zero Trust กับทุกเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายภายในองค์กรหรือเครือข่ายที่พนักงานใช้งานจากระยะไกล
- เลือกเครื่องมือที่รองรับ Zero Trust: เลือกใช้ระบบรักษาความปลอดภัยที่ รองรับ Zero Trust โดยควรมี การยืนยันตัวตนที่เข้มงวด การเฝ้าระวังตลอดเวลา และระบบควบคุมการเข้าถึงอัจฉริยะ
- แบ่งส่วนเครือข่าย: ใช้ Micro-Segmentation เพื่อแยกเครือข่ายออกเป็นส่วนเล็กๆ ช่วยจำกัดการเคลื่อนที่ของภัยคุกคามภายในระบบ และป้องกันไม่ให้การโจมตีลุกลาม
- อบรมทีมงาน: ให้พนักงานเข้าใจแนวคิด Zero Trust และแนวทางรักษาความปลอดภัยของข้อมูล การฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ทีมตระหนักถึงความเสี่ยง รู้วิธีปฏิบัติตามนโยบายด้านความปลอดภัย และช่วยเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยภายในองค์กร
อะไรที่ทำให้ Zero Trust แตกต่างจากโมเดลความปลอดภัยแบบเดิม
Zero Trust เปลี่ยนแนวทางการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์โดยสมบูรณ์ ด้วยการตั้งสมมติฐานว่า ภัยคุกคามสามารถมาจากทั้งภายในและภายนอกเครือข่าย ต่างจาก ระบบความปลอดภัยแบบดั้งเดิม ที่ใช้ขอบเขตที่ชัดเจนและถือว่าสิ่งที่อยู่ภายในเครือข่ายนั้นปลอดภัย Zero Trust จะตรวจสอบทุกคำขอเข้าใช้งานตลอดเวลา
แนวทางแบบดั้งเดิม เช่น ไฟร์วอลล์และระบบรักษาความปลอดภัยแบบปริมณฑล (Perimeter-based Security) เชื่อว่าเมื่อใครเข้ามาในเครือข่ายได้แล้ว ก็สามารถเชื่อถือได้ ซึ่งแนวคิดนี้อาจทำให้เกิดช่องโหว่และเพิ่มความเสี่ยงต่อการถูกโจมตีทางไซเบอร์
นี่คือความแตกต่างระหว่าง Zero Trust กับกลยุทธ์ความปลอดภัยแบบดั้งเดิม:
ระบบป้องกันแบบขอบเขต
- ระบบดั้งเดิม: เน้นป้องกันภัยคุกคามจากภายนอก เช่น ใช้ไฟร์วอลล์
- Zero Trust: เลิกใช้แนวคิดขอบเขตตายตัว และตรวจสอบทุกคำขอเข้าใช้งาน ไม่ว่าผู้ใช้จะอยู่ในหรือนอกเครือข่าย
ความเชื่อถือโดยอัตโนมัติ vs. การตรวจสอบต่อเนื่อง
- ระบบดั้งเดิม: เมื่อผู้ใช้หรืออุปกรณ์ผ่านการยืนยันตัวตนแล้ว ระบบจะถือว่า เชื่อถือได้ถาวร
- Zero Trust: ไม่มีการเชื่อถือโดยอัตโนมัติ ทุกการเข้าถึงต้องผ่าน การยืนยันตัวตนและการอนุญาตทุกครั้ง ไม่ว่าสิทธิ์เคยได้รับมาก่อนหรือไม่
ระบบป้องกันแบบคงที่ vs. ระบบป้องกันแบบปรับเปลี่ยนได้
- ระบบดั้งเดิม:ใช้มาตรการป้องกันแบบตายตัว เช่น ไฟร์วอลล์และ VPN ซึ่ง ไม่สามารถปรับเปลี่ยนตามภัยคุกคามใหม่ๆ ได้
- Zero Trust: ใช้มาตรการความปลอดภัยที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามภัยคุกคามแบบเรียลไทม์
ขอบเขตและการรวมระบบ
- ระบบดั้งเดิม: มักใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยที่แยกจากกัน เช่น ไฟร์วอลล์หรือแอนติไวรัสเฉพาะจุด ซึ่งไม่ได้ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ
- Zero Trust: ใช้แนวทาง ความปลอดภัยแบบองค์รวม โดยรวม การจัดการตัวตน, ความปลอดภัยของอุปกรณ์, การแบ่งเครือข่าย, การควบคุมแอปพลิเคชัน และการปกป้องข้อมูล ไว้ในระบบเดียวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันภัยคุกคาม
ภัยคุกคามภายนอก vs. ภัยคุกคามภายใน
- ระบบดั้งเดิม: เน้นป้องกันเฉพาะ ภัยคุกคามจากภายนอก
- Zero Trust: ระหนักว่าภัยคุกคามสามารถมาจากภายในหรือภายนอกได้ จึงใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยเข้มงวดกับทุกจุดเข้าใช้งาน
Safetica สนับสนุนการนำหลักการ Zero Trust ไปใช้อย่างไร

SearchInform มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้องค์กร นำแนวทาง Zero Trust มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยโซลูชัน Data Loss Prevention (DLP) ของ Safetica ซึ่งช่วยเสริมโครงสร้างความปลอดภัยของ Zero Trust ได้ในหลายด้าน ดังนี้
การจัดประเภทข้อมูล:
Safetica ช่วยให้องค์กรสามารถระบุและจัดหมวดหมู่ข้อมูลสำคัญได้อย่างแม่นยำ เมื่อเข้าใจว่าข้อมูลใดต้องการการปกป้องเป็นพิเศษ องค์กรสามารถ นำแนวทาง Zero Trust มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจำกัดการเข้าถึงข้อมูลสำคัญให้เฉพาะผู้ใช้และอุปกรณ์ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
การติดตามแบบเรียลไทม์:
Safetica เฝ้าระวังและติดตามการเข้าถึงข้อมูลตลอดเวลา ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด Zero Trust ที่ต้องมี การตรวจสอบอย่างต่อเนื่องและมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ตอบสนองได้ทันที ระบบสามารถตรวจจับกิจกรรมที่น่าสงสัยและแจ้งเตือนเพื่อให้สามารถดำเนินการป้องกันได้อย่างรวดเร็ว
การจัดการภัยคุกคามจากภายใน:
Zero Trust ถือว่าภัยคุกคามอาจมาจากทั้งภายนอกและภายในองค์กร Safetica ช่วย ติดตามและควบคุมพฤติกรรมของผู้ใช้ภายใน เพื่อลดความเสี่ยงจาก การเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือการรั่วไหลของข้อมูล พร้อมเสริมหลักการ "อย่าไว้ใจใครโดยอัตโนมัติ ต้องตรวจสอบทุกครั้ง ของ Zero Trust
ปกป้องอุปกรณ์ปลายทาง:
Safetica ช่วยให้มั่นใจว่า อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในแนวคิด Zero Trust ที่กำหนดให้ทุกอุปกรณ์ต้องผ่านการตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดก่อนเข้าถึงระบบ
การบังคับใช้นโยบายความปลอดภัย:
Safetica ช่วยองค์กรกำหนดและบังคับใช้กฎระเบียบด้านความปลอดภัยอย่างเข้มงวด โดยสามารถ รวมการควบคุมการเข้าถึงเข้ากับหลักการ Zero Trust เพื่อให้แน่ใจว่า ทุกการเข้าถึงเครือข่ายเป็นไปตามนโยบายที่กำหนด
หากต้องการรู้ว่า Safetica ช่วยเสริม Zero Trust ให้กับองค์กรของคุณได้อย่างไร ติดต่อเราวันนี้เพื่อขอทดลองใช้งาน