ในยุคที่การรั่วไหลของข้อมูลและภัยคุกคามทางไซเบอร์เกิดขึ้นบ่อยครั้ง การปกป้องข้อมูลสำคัญขององค์กรจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นกว่าที่เคย แต่จะมั่นใจได้อย่างไรว่าข้อมูลของคุณปลอดภัยจริง?
คำตอบคือ การสร้างนโยบายป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล (DLP) ที่แข็งแกร่ง เปรียบเสมือนตาข่ายนิรภัยที่ไม่เพียงป้องกันการเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ยังช่วยป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลและทำให้แน่ใจว่าองค์กรของคุณปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านความปลอดภัย
ในคู่มือนี้เราจะพาคุณไปดูขั้นตอนสำคัญในการสร้างนโยบาย DLP ที่จะช่วยเสริมเกราะป้องกันข้อมูลขององค์กร เพื่อให้ข้อมูลสำคัญของคุณปลอดภัยและอยู่ในที่ที่ควรอยู่
มาทำความเข้าใจนโยบาย DLP
นโยบายป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล (DLP) หรือที่เรียกว่านโยบายความปลอดภัยของข้อมูล คือแนวทางที่ช่วยปกป้องข้อมูลสำคัญขององค์กรจากการเข้าถึง การแบ่งปัน หรือการสูญหายโดยไม่ได้รับอนุญาต
โดยพื้นฐานแล้ว DLP Policy กำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการบริหารจัดการและปกป้องข้อมูลสำคัญตลอดวงจรการใช้งาน ครอบคลุมข้อมูลในรูปแบบต่างๆ เช่น เอกสาร อีเมล และฐานข้อมูล พร้อมทั้งกำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดความเสี่ยงของการรั่วไหลหรือถูกเจาะระบบ
เป้าหมายหลักของ DLP Policy คือ ลดความเสี่ยงของการสูญหายหรือการเปิดเผยข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ การระบุและจัดประเภทข้อมูลสำคัญ การติดตามการใช้งาน ไปจนถึงการใช้มาตรการป้องกันเพื่อควบคุมการเข้าถึงและการส่งต่อข้อมูล นอกจากนี้ DLP Policy ยังช่วยให้องค์กรปฏิบัติตาม กฎระเบียบและมาตรฐานด้านความปลอดภัยของข้อมูล ช่วยเสริมเกราะป้องกันข้อมูลสำคัญ และลดความเสี่ยงทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้น
ภัยคุกคามจากบุคคลภายใน ไม่ว่าจะเกิดจาก ความตั้งใจหรือความผิดพลาด ถือเป็นความเสี่ยงที่องค์กรต้องให้ความสำคัญ DLP Policy จึงเข้ามามีบทบาทในการลดความเสี่ยงเหล่านี้ผ่าน ระบบควบคุมและการเฝ้าระวัง
นอกจากนี้ ยังช่วยให้พนักงานเข้าใจแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องในการจัดการข้อมูล และบังคับใช้มาตรการ ควบคุมการเข้าถึงที่เข้มงวด ซึ่งช่วยลดโอกาสในการเกิดภัยคุกคามจากบุคคลภายใน และปกป้องข้อมูลสำคัญจากความ
แนวทางสร้างนโยบาย DLP ให้มีประสิทธิภาพ

การสร้างและใช้นโยบายป้องกันข้อมูลรั่วไหล (DLP) ให้มีประสิทธิภาพต้องอาศัยการวางแผนอย่างรอบคอบและดำเนินการอย่างเป็นระบบ ซึ่งสามารถปรับนโยบาย DLP ให้เหมาะกับองค์กรของคุณได้โดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้:
1.ประเมินข้อมูลขององค์กร:
เริ่มต้นด้วยการตรวจสอบว่าข้อมูลประเภทใดถูกจัดเก็บอยู่ที่ไหนและมีความสำคัญแค่ไหน โดยเน้นแหล่งข้อมูลหลัก เช่น ฐานข้อมูล, ไฟล์ที่แชร์ภายในองค์กร และระบบคลาวด์ ซึ่งเป็นจุดที่ข้อมูลสำคัญมักถูกใช้งานและจัดเก็บ
2. จัดประเภทข้อมูลตามระดับความสำคัญ:
หลังจากประเมินข้อมูลแล้ว กำหนดหมวดหมู่ข้อมูลให้ชัดเจน เช่น ข้อมูลลับ (Confidential), ข้อมูลภายใน (Proprietary), ข้อมูลสาธารณะ (Public) และข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) พร้อมระบุแนวทางการป้องกันและการเข้าถึงที่เหมาะสมสำหรับแต่ละประเภท
3. วิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง:
ตรวจสอบจุดอ่อนและภัยคุกคามที่อาจส่งผลต่อข้อมูล โดยพิจารณาปัจจัย เช่น ความสำคัญของข้อมูล, สถานที่จัดเก็บ, วิธีการเข้าถึง และพฤติกรรมการใช้งานของพนักงาน จากนั้นวิเคราะห์ความเป็นไปได้และผลกระทบของแต่ละความเสี่ยง เพื่อลำดับความสำคัญของมาตรการป้องกัน
4. กำหนดนโยบายการใช้งานที่เหมาะสม:
สร้างแนวทางที่ชัดเจนเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรขององค์กร เช่น คอมพิวเตอร์, เครือข่าย และซอฟต์แวร์ โดยระบุข้อกำหนดและข้อห้ามเกี่ยวกับการเข้าถึง การจัดเก็บ และการส่งต่อข้อมูล ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
5. ควบคุมสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูล:
ใช้หลักการ Least Privilege โดยให้พนักงานเข้าถึงข้อมูลเฉพาะส่วนที่จำเป็นต่อการทำงานเท่านั้น พร้อมนำแนวคิด Zero Trust มาใช้ เพื่อให้มีการ ตรวจสอบตัวตนของผู้ใช้และอุปกรณ์อย่างต่อเนื่อง ก่อนอนุญาตให้เข้าถึงระบบหรือข้อมูลสำคัญ
6.วางแผนรับมือเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย:
เตรียมแผนรับมือกรณีข้อมูลรั่วไหลหรือการละเมิดนโยบายความปลอดภัย โดยกำหนดขั้นตอนในการตรวจจับ ควบคุม ตรวจสอบ และแก้ไขปัญหา พร้อมตั้งระบบแจ้งเตือนและกระบวนการรายงานไปยังฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ ควรกำหนดบทบาทและหน้าที่ของทีมรับมือเหตุการณ์ พร้อมจัดตั้งช่องทางสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถตอบสนองและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
7. อบรมพนักงานให้เข้าใจความปลอดภัยของข้อมูล:
ให้ความรู้แก่พนักงานเกี่ยวกับแนวทางป้องกันข้อมูลรั่วไหลและมาตรการรักษาความปลอดภัยขององค์กร โดยเน้นให้เข้าใจถึงภัยคุกคาม เช่น ฟิชชิ่ง (Phishing) และ การโจมตีทางวิศวกรรมสังคม (Social Engineering) พร้อมแนะนำวิธีรับมือและป้องกัน องค์กรควรจัดอบรมและแคมเปญสร้างความตระหนักอย่างต่อเนื่อง เพื่อปลูกฝังวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของข้อมูล
8.ติดตาม ตรวจสอบ และบังคับใช้นโยบาย DLP:
ใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีเพื่อตรวจสอบว่าองค์กรปฏิบัติตามนโยบาย DLP อย่างถูกต้อง โดยใช้ โซลูชันป้องกันข้อมูลรั่วไหล (DLP Solutions) ในการเฝ้าระวัง ตรวจจับการละเมิดนโยบาย ควบคุมการส่งผ่านข้อมูล และป้องกันไม่ให้ข้อมูลสำคัญถูกส่งออกโดยไม่ได้รับอนุญาต
9. ตรวจสอบและอัปเดตนโยบายอย่างต่อเนื่อง:
นโยบาย DLP ควรได้รับการ ตรวจสอบและอัปเดตอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร ควรติดตามแนวโน้มภัยคุกคามและกฎระเบียบใหม่ๆ รวมถึงรับฟัง ความคิดเห็นจากพนักงาน ทีมไอที และฝ่ายบริหาร เพื่อนำมาปรับปรุงให้เหมาะสม เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย ควรจัดอบรมเพิ่มเติม เพื่อให้ทุกคนเข้าใจและปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง ช่วยให้องค์กรสามารถรักษาความปลอดภัยของข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
กลยุทธ์สำคัญในการพัฒนานโยบาย DLP ให้มีประสิทธิภาพ
1.รวมทีมที่เกี่ยวข้องในการจัดทำนโยบาย: ให้ตัวแทนจากฝ่าย IT, ฝ่ายความปลอดภัย, ฝ่ายกฎหมาย และทีมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการจัดทำนโยบาย เพื่อให้มั่นใจว่านโยบายที่กำหนดขึ้นมีความรอบด้าน และสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร
2.ใช้การเข้ารหัสและเทคนิคปกปิดข้อมูล: ปกป้องข้อมูลด้วย การเข้ารหัสทั้งขณะจัดเก็บและขณะส่งผ่าน เพื่อป้องกันการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้ ควรใช้ Data Masking เพื่อปกปิดข้อมูลสำคัญในระบบทดสอบหรือสภาพแวดล้อมที่ไม่ใช่การใช้งานจริง ลดความเสี่ยงจากการรั่วไหลของข้อมูล
3.ทำนโยบายให้เข้าใจง่าย: เขียนนโยบายให้กระชับ ชัดเจน และไม่ซับซ้อน หลีกเลี่ยงคำศัพท์ทางเทคนิคที่อาจทำให้เกิดความสับสน เพื่อให้พนักงานทุกระดับสามารถเข้าใจและปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง
4.ให้พนักงานมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย: เปิดโอกาสให้พนักงาน แสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมพัฒนานโยบายเพื่อให้พวกเขารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ และช่วยเพิ่มความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฎระเบียบ
5.ปรับนโยบายให้เหมาะสมกับแต่ละแผนก: กำหนดนโยบายให้ยืดหยุ่นและเหมาะกับลักษณะงานของแต่ละแผนก โดยคำนึงถึงรูปแบบการจัดการข้อมูลและความเสี่ยงที่แตกต่างกัน แต่ยังคงแนวทางหลักที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งองค์กร
6.กำหนดแนวทางการรายงานและตรวจสอบเหตุการณ์: วางระบบแจ้งปัญหาที่ชัดเจนและเป็นขั้นตอน เพื่อให้พนักงานสามารถรายงานเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลหรือการละเมิดนโยบายได้อย่างรวดเร็ว พร้อมกำหนดกระบวนการตรวจสอบและแก้ไขปัญหา เพื่อให้สามารถรับมือกับเหตุการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อควรระวัง!
การนำนโยบายป้องกันข้อมูลรั่วไหล (DLP) มาใช้ในองค์กร อาจพบกับความท้าทายหลายอย่าง มาดูกันว่าปัญหาที่พบบ่อยและแนวทางรับมือมีอะไรบ้าง:
1. นโยบายซับซ้อนเกินไป: หากนโยบายมีความยุ่งยากหรือใช้ภาษาทางเทคนิคมากเกินไป อาจทำให้พนักงานไม่สามารถปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง ควรทำให้นโยบาย กระชับ ชัดเจน และเข้าใจง่าย เพื่อให้ทุกคนสามารถทำตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. พนักงานขาดความรู้และการฝึกอบรม: แม้จะมีนโยบายที่ดี หากพนักงานไม่ได้รับการอบรมอย่างเหมาะสม ก็อาจทำให้การใช้งานไม่ได้ผล ควรให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของ ความปลอดภัยของข้อมูล หน้าที่ของแต่ละคน และวิธีปฏิบัติตามนโยบายอย่างถูกต้อง
3. ไม่มีแผนรับมือเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหล: นโยบาย DLP เพียงอย่างเดียวไม่สามารถป้องกันข้อมูลรั่วไหลได้ 100% องค์กรจึงต้องมีแผนรับมือเมื่อเกิดเหตุการณ์จริง เพื่อให้สามารถ ตรวจสอบ แก้ไข และลดความเสียหายได้อย่างรวดเร็ว
4.มองข้ามภัยคุกคามจากบุคคลภายใน: หลายองค์กรให้ความสำคัญกับภัยคุกคามจากภายนอก แต่พนักงานภายในก็อาจเป็นความเสี่ยงได้เช่นกัน โดยเฉพาะเมื่อมีการใช้งานข้อมูลบนระบบคลาวด์ หรือมีการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ซึ่งเพิ่มช่องทางให้ข้อมูลถูกเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้น องค์กรควรวางมาตรการป้องกันที่ครอบคลุม ทั้งจากภัยภายนอกและความเสี่ยงภายใน
5.ขาดการติดตามและอัปเดตนโยบายอย่างต่อเนื่อง: นโยบาย DLP ควรได้รับการปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ทันกับภัยคุกคามใหม่ๆกฎหมายที่อัปเดตใหม่ รวมถึงความต้องการขององค์กรที่อาจเปลี่ยนไป ควรมีการติดตาม ตรวจสอบ และอัปเดตมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง
6. มองข้ามความเสี่ยงเฉพาะอุตสาหกรรม: แต่ละอุตสาหกรรมมีความเสี่ยงและข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของข้อมูลที่แตกต่างกัน ดังนั้น นโยบายและโซลูชันด้าน DLP ควรถูกออกแบบให้สอดคล้องกับลักษณะธุรกิจของคุณ เพื่อให้การปกป้องข้อมูลครอบคลุมและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
SearchInform ช่วยเสริมกลยุทธ์ DLP ของคุณอย่างไร
1. ค้นหาและจัดหมวดหมู่ข้อมูลสำคัญ: ค้นหาและจัดหมวดหมู่ข้อมูลสำคัญขององค์กร เพื่อให้เข้าใจว่าข้อมูลถูกใช้งานและเคลื่อนย้ายอย่างไร SearchInform ช่วยให้คุณ ตรวจสอบและติดตามการเคลื่อนย้ายของข้อมูลแบบเรียลไทม์ พร้อมตรวจสอบว่า ข้อมูลถูกเข้าถึง ใช้งาน หรือย้ายไปที่ใด
2.กำหนดสิทธิ์การเข้าถึงให้ปลอดภัย: กำหนด สทธิ์การเข้าถึงข้อมูลสำคัญให้เฉพาะบุคคลที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น พร้อมใช้ระบบยืนยันตัวตน เพื่อป้องกันการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต
3. เข้ารหัสข้อมูลด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง: ปกป้องข้อมูลจากการเข้าถึงหรือดักจับโดยไม่ได้รับอนุญาต ด้วยระบบการเข้ารหัสที่ปลอดภัย ครอบคลุมทุกขั้นตอนไม่ว่าจะเป็นขณะจัดเก็บ ส่งข้อมูล หรือขณะใช้งาน
4. บังคับใช้นโยบาย DLP: ใช้นโยบายป้องกันข้อมูลรั่วไหล (DLP) เพื่อป้องกันทั้งการรั่วไหลของข้อมูลโดยไม่ตั้งใจและโดยเจตนา ไม่ว่าจะผ่านอีเมล อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลภายนอก หรือระบบคลาวด์
5. ตรวจสอบและติดตามการใช้งานข้อมูล: ควบคุมความเสี่ยงด้านกฎระเบียบและตรวจจับ การละเมิดข้อกำหนดด้านความปลอดภัย SearchInform ช่วยให้องค์กร บังคับใช้นโยบายภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีเครื่องมือสำหรับตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรฐานต่างๆ
หากต้องการดูว่า โซลูชันของ SearchInform สามารถ ทำงานร่วมกับนโยบาย DLP ของคุณและแก้ไขปัญหาเฉพาะขององค์กรได้อย่างไร ติดต่อเราเพื่อ ขอรับ Demo ได้เลย!