สั่งซื้อโทรกลับ

ป้องกันภัยคุกคามจากคนในองค์กรกับ 7 กลยุทธ์ที่ธุรกิจ SMBs ต้องรู้

หลายคนอาจเข้าใจว่าภัยคุกคามด้านข้อมูลเป็นเรื่องไกลตัว โดยเฉพาะกับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMBs) แต่ความเป็นจริงคือ SMBs เองก็มีความเสี่ยงไม่น้อยไปกว่าบริษัทใหญ่ และบางครั้งอาจได้รับผลกระทบมากกว่าด้วยซ้ำ โดยเฉพาะความเสี่ยงจาก “บุคคลภายในองค์กร” ที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากความผิดพลาด และการกระทำโดยเจตนา

บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักความเสี่ยงจากคนในองค์กร และแนวทางป้องกันแบบเข้าใจง่าย เหมาะกับ SMBs ที่อยากเสริมความปลอดภัยอย่างมีประสิทธิภาพ

Insider Risk คืออะไร?

ที่เกิดจากบุคคลภายในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน ผู้บริหาร หรือพาร์ตเนอร์ที่มีสิทธิ์เข้าถึงระบบหรือข้อมูลของบริษัท ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของข้อมูลหรือระบบ ไม่ว่าจะเกิดจากความผิดพลาดโดยไม่ตั้งใจ หรือการกระทำโดยเจตนาเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวก็ตาม

ประเภทของภัยคุกคามจากบุคคลภายในองค์กร
  • ภัยคุกคามที่เกิดจากความไม่ตั้งใจ (Unintentional Threats): เกิดจากความผิดพลาดหรือความประมาทของพนักงาน ซึ่งอาจนำไปสู่การรั่วไหลของข้อมูลโดยไม่ได้ตั้งใจ การตั้งค่าระบบผิดพลาดจนเปิดช่องโหว่ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการโจมตีแบบฟิชชิ่ง หรือจัดเก็บข้อมูลสำคัญไม่ปลอดภัย
  • ภัยคุกคามที่เกิดจากความตั้งใจ (Malicious Threats): เกิดจากบุคคลภายในมีเจตนาทำลายหรือสร้างความเสียหายแก่องค์กร เช่น การขโมยข้อมูลแอบขายข้อมูลให้คู่แข่ง, การฉ้อโกงภายในองค์กร

ความท้าทายที่ธุรกิจขนาดกลางและเล็กต้องเผชิญ

ธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (SMBs) ต้องเผชิญกับความท้าทายหลายประการในการจัดการความเสี่ยงจากบุคคลภายในองค์กร ได้แก่:

  • ข้อจำกัดด้านงบประมาณ - ธุรกิจ SMBs มักมีงบประมาณจำกัด ทำให้การลงทุนในระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ครอบคลุมหรือการจ้างผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเป็นเรื่องยาก
  • ขาดทีมรักษาความปลอดภัยไซเบอร์เฉพาะทาง - ต่างจากองค์กรขนาดใหญ่ ธุรกิจขนาดเล็กอาจไม่มีทีมดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์โดยเฉพาะ และต้องพึ่งพาทีมไอทีทั่วไป ซึ่งอาจไม่มีความเชี่ยวชาญเพียงพอในการตรวจจับและรับมือกับภัยคุกคามจากบุคคลภายใน ทำให้ความสามารถในการป้องกันและจัดการกับปัญหาเหล่านี้ลดลง
  • การทำงานระยะไกลและการใช้ระบบคลาวด์ - การเปลี่ยนไปทำงานจากระยะไกลและการใช้เครื่องมือบนคลาวด์ เช่น Slack หรือแพลตฟอร์มการทำงานร่วมกันอื่น ๆ ทำให้การจัดการความเสี่ยงจากบุคคลภายในยุ่งยากขึ้น เพราะการทำงานจากที่บ้านมักมีการควบคุมน้อยกว่าการทำงานในออฟฟิศ นอกจากนี้ การที่พนักงานใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ส่วนตัว (BYOD) เพื่อทำงาน ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงด้านความปลอดภัยได้ ดังนั้น ธุรกิจ SMBs ควรมีมาตรการควบคุมการเข้าถึงข้อมูล และใช้เทคโนโลยีเข้ารหัสเพื่อช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
  • ประเมินความปลอดภัยของข้อมูลต่ำเกินไป - ธุรกิจ SMBs หลายแห่งอาจมองข้ามความสำคัญของการปกป้องข้อมูลหรือการจัดการความเสี่ยงจากบุคคลภายใน เพราะคิดว่าตัวเองไม่น่าตกเป็นเป้าหมายของแฮ็กเกอร์ นอกจากนี้ บางองค์กรอาจไม่ตระหนักถึงผลกระทบที่ร้ายแรงจากการรั่วไหลของข้อมูล ซึ่งอาจสร้างความเสียหายมากกว่าที่คาดคิด

7 กลยุทธ์จัดการความเสี่ยงจากบุคคลภายในสำหรับธุรกิจ SMBs

insider risk management

เมื่อธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMBs) ได้วางรากฐานสำหรับการบริหารความเสี่ยงจากบุคคลภายในแล้ว การนำกลยุทธ์และแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมมาใช้จะช่วยเสริมความปลอดภัยให้กับองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ:

พัฒนานโยบายความปลอดภัยของข้อมูล
  1. วางนโยบายความปลอดภัยของข้อมูลให้ชัดเจน: กำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการจัดการข้อมูลสำคัญ โดยนโยบายควรครอบคลุมถึง การจำแนกประเภทข้อมูล การควบคุมสิทธิ์การเข้าถึง วิธีการเข้ารหัส ขั้นตอนรับมือเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย ตลอดจน บทบาทและความรับผิดชอบของพนักงาน ในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
    • เคล็ดลับมือโปร: ใช้มาตรฐาน ISO 27001 เป็นแนวทางในการสร้างระบบบริหารจัดการความปลอดภัยของข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ และช่วยลดความเสี่ยงจากบุคคลภายในองค์กร
  2. อัปเดตนโยบายอย่างสม่ำเสมอ: ตรวจสอบและอัปเดตนโยบายความปลอดภัยของข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี การดำเนินธุรกิจ และข้อกำหนดทางกฎหมาย
  3. ติดตามกฎระเบียบด้านข้อมูล: ตรวจสอบให้นโยบายขององค์กรเป็นไปตามมาตรฐานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น GDPR, HIPAA, PC
นำแนวคิด Zero Trust มาใช้ในการจัดการการเข้าถึง
  1. ใช้หลักการ Zero Trust – หลักการนี้ตั้งอยู่บนแนวคิดว่า “ไม่มีใครควรได้รับความไว้วางใจโดยอัตโนมัติ” ทุกการเข้าถึงระบบหรือข้อมูลสำคัญต้องมีการตรวจสอบสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานภายในหรือบุคคลภายนอกก็ตาม
  2. ตรวจสอบสิทธิ์การเข้าถึงเป็นประจำ – ทบทวนสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดสิทธิ์ที่ไม่จำเป็น และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามภายในองค์กร
ยกระดับความปลอดภัยด้วยการเข้ารหัสและระบบยืนยันตัวตนสองชั้น
  1. เข้ารหัสข้อมูลสำคัญ: ใช้การเข้ารหัสเพื่อปกป้องข้อมูลสำคัญทั้งขณะส่งและขณะจัดเก็บ เช่น การเข้ารหัสอีเมลที่มีข้อมูลสำคัญ จะช่วยให้ถึงแม้ข้อมูลจะถูกดักจับก็ไม่สามารถอ่านได้หากไม่มีรหัสปลดล็อก ซึ่งเป็นวิธีสำคัญในการป้องกันความเสี่ยงจากบุคคลภายใน
  2. เปิดใช้การยืนยันตัวตนสองขั้นตอน (2FA): เพิ่มความปลอดภัยอีกชั้นด้วย 2FA โดยผู้ใช้ต้องยืนยันตัวตนสองชั้น เช่น รหัสผ่านและรหัสยืนยันจากมือถือ วิธีนี้ช่วยลดความเสี่ยงจากการเข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต และช่วยป้องกันการถูกแฮ็กบัญชีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เสริมสร้างความรู้และความตระหนักด้านความปลอดภัยให้พนักงาน
  1. จัดอบรมเป็นประจำ: ให้พนักงานได้เรียนรู้เกี่ยวกับ การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ภัยคุกคามจากบุคคลภายใน และแนวทางป้องกันข้อมูลรั่วไหล ด้วยการอบรมอย่างต่อเนื่อง
  2. ปรับหลักสูตรการอบรมให้เหมาะสมกับแต่ละตำแหน่ง: ออกแบบหลักสูตรให้สอดคล้องกับหน้าที่ของพนักงานแต่ละคน เน้นความสำคัญของการรักษาข้อมูลเป็นความลับ และการปฏิบัติตามมาตรการด้านความปลอดภัย
  3. สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัย: ปลูกฝังแนวคิดเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ กระตุ้นให้พนักงานรายงานพฤติกรรมที่น่าสงสัย และปฏิบัติตามนโยบายด้านความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด เพื่อเสริมสร้างมาตรการบริหารความเสี่ยงจากบุคคลภายใน
การบริหารจัดการการพ้นสภาพพนักงาน
  1. กำหนดกระบวนการ Offboarding ที่ปลอดภัย – สร้างขั้นตอนที่ชัดเจนในการ จัดการพนักงานที่ลาออกหรือถูกเลิกจ้าง เช่น ยกเลิกสิทธิ์การเข้าถึงระบบ เก็บอุปกรณ์ของบริษัทคืนให้ครบ และสัมภาษณ์พนักงานก่อนออกจากงานเพื่อตรวจสอบความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
  2. ปิดสิทธิ์การเข้าถึงระบบทันที – ยกเลิกสิทธิ์การเข้าถึงระบบและข้อมูลของบริษัททันทีเมื่อพนักงานออกจากงาน เพื่อลดความเสี่ยงจากการเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือการรั่วไหลของข้อมูลสำคัญ
  3. กู้คืนและลบข้อมูล – ตรวจสอบและลบข้อมูลสำคัญออกจากอุปกรณ์หรือบัญชีของพนักงานที่ออกจากองค์กร เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลถูกส่งต่อไปยังพนักงานที่จะมาทำงานแทนตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีข้อมูลสำคัญตกค้าง
การพัฒนาแผนรับมือเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย
  1. สร้างแผนรับมืออย่างเป็นระบบ – กำหนดแนวทางที่ชัดเจนเกี่ยวกับ วิธีจัดการภัยคุกคามจากบุคคลภายใน ตั้งแต่ การตรวจจับ การตอบสนอง ไปจนถึงการกู้คืนระบบ เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. กำหนดบทบาทและหน้าที่ของทีมจัดการเหตุการณ์ – มอบหมายหน้าที่ให้กับบุคลากรที่รับผิดชอบใน การตรวจสอบและจัดการเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย เพื่อให้การรับมือเป็นไปอย่างเป็นระบบ ลดความสับสนเมื่อต้องเผชิญกับภัยคุกคามจริง
  3. ทดสอบและอัปเดตแผนอย่างสม่ำเสมอ – ตรวจสอบ ทดสอบ และปรับปรุงแผนรับมือให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อให้รองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี โครงสร้างองค์กร และแนวโน้มภัยคุกคามใหม่ ๆ
การใช้โซลูชันป้องกันการสูญหายของข้อมูล (DLP)
  1. ลงทุนกับโซลูชัน DLP: เลือกใช้โซลูชัน Data Loss Prevention (DLP) ที่เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง โดยควรมีฟีเจอร์สำคัญ เช่น การค้นหาและจำแนกข้อมูล การติดตามพฤติกรรมผู้ใช้ การป้องกันข้อมูลบนคลาวด์ และการแจ้งเตือนแบบเรียลไทม์ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามภายในmanagement.
    • หมายเหตุ: โซลูชัน DLP ของ SearchInform มีฟีเจอร์เหล่านี้ครบหมด
  2. ติดตั้ง DLP บนอุปกรณ์ของพนักงาน: สำหรับองค์กรที่มีพนักงานทำงานจากระยะไกล ควรติดตั้งซอฟต์แวร์ DLP บนอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงาน เพื่อตรวจสอบและควบคุมการส่งต่อข้อมูล ทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลสำคัญยังคงปลอดภัย แม้พนักงานทำงานนอกออฟฟิศ

SearchInform ช่วยธุรกิจ SMBs รับมือภัยคุกคามจากคนในองค์กรได้อย่างไร?

ActiveMedia เราเข้าใจถึงความสำคัญของ การบริหารความเสี่ยงจากบุคคลภายใน เพื่อให้ธุรกิจของคุณปลอดภัย SearchInform มีโซลูชัน DLP ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยธุรกิจ SMBs โดยเฉพาะ ช่วยเสริมความปลอดภัยและให้สอดคล้องกับมาตรฐานด้านความปลอดภัยของข้อมูล

เราเพิ่งเผยแพร่บทความเกี่ยวกับวิธีที่ SearchInform สามารถช่วยให้ธุรกิจของคุณจัดการความเสี่ยงจากบุคคลภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลองเข้าไปอ่านเพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติม และค้นพบวิธีที่เราสามารถช่วยคุณนำแนวทางเหล่านี้ไปใช้เพื่อปกป้ององค์กรของคุณจากภัยคุกคามภายใน

ถ้าอยากรู้ว่า โซลูชันของ SearchInform จะช่วยธุรกิจของคุณได้อย่างไรบ้าง ลองจอง Demo กับเราตอนนี้ คุณจะได้ทดลองใช้งานจริงและเห็นประสิทธิภาพของระบบ เราพร้อมช่วยให้คุณเข้าใจและนำเครื่องมือเหล่านี้ไปใช้ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับองค์กรของคุณ