สั่งซื้อโทรกลับ

ฟิชชิ่ง (Phishing) คืออะไร? ทำไมถึงอันตรายกว่าที่คิด

เคยสงสัยไหมว่า ข้อมูลส่วนตัวของคุณ “เสี่ยง” แค่ไหนในโลกออนไลน์? ทุกวันนี้ภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยเฉพาะ ฟิชชิ่ง (Phishing) กำลังพัฒนาวิธีการที่แนบเนียนมากขึ้นเรื่อยๆ

แม้แต่คนที่ระมัดระวัง ก็อาจเผลอตกเป็นเหยื่อได้ง่ายกว่าที่คิด เพียงคลิกเดียวจากอีเมลหรือข้อความที่ดูไม่น่าสงสัย อาจทำให้ข้อมูลสำคัญหลุดไปถึงมือมิจฉาชีพและในบางกรณี อาจนำไปสู่การสูญเสียเงินหรือการเข้าถึงบัญชีส่วนตัวโดยไม่รู้ตัว

ในบทความนี้ เราจะพาคุณไปรู้จัก วิธีสังเกตฟิชชิ่งที่พบบ่อย พร้อม เคล็ดลับง่ายๆ ในการป้องกันตัวเพื่อให้คุณสามารถรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและลดโอกาสตกเป็นเป้าหมายของมิจฉาชีพออนไลน์

ทำความเข้าใจกับการโจมตีแบบฟิชชิ่ง!

Phishing attack prevention

ฟิชชิ่งคืออะไร?

ลองนึกภาพว่าคุณได้รับข้อความจาก "ธนาคาร" แจ้งว่าบัญชีของคุณมีปัญหา และขอให้คุณกดลิงก์เพื่อยืนยันข้อมูลส่วนตัว นี่คือ ฟิชชิ่ง (Phishing) กลโกงที่มิจฉาชีพใช้หลอกให้คุณเปิดเผยข้อมูลสำคัญ เช่น รหัสผ่านหรือหมายเลขบัตรเครดิต จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งเหล่ามิจฉาชีพมักแอบอ้างเป็นหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ เช่น ธนาคาร หรือบริษัทดังๆ โดยใช้ อีเมล ข้อความ หรือแม้แต่โทรศัพท์ เพื่อหลอกให้คุณหลงเชื่อ พวกเขามักสร้าง ความเร่งด่วนหรือความกลัว เพื่อให้คุณตัดสินใจโดยไม่ทันคิดให้รอบคอบ

เป้าหมายของฟิชชิ่งคือการขโมยข้อมูลส่วนตัว เช่น รหัสผ่าน หรือข้อมูลเข้าสู่ในการระบบ เมื่อพวกเขาได้ข้อมูลเหล่านี้แล้ว อาจใช้เพื่อเข้าถึงบัญชีการเงิน ขโมยข้อมูล หรือเจาะเข้าสู่ระบบอื่นๆ ในบางกรณีอาจเรียกค่าไถ่เพื่อปลดล็อกการเข้าถึงระบบของคุณ

เรากำลังตกเป็นเหยื่อใช่ไหม?

ฟิชชิ่งสามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ มิจฉาชีพมักส่งอีเมลไปยังคนจำนวนมาก หวังว่าอย่างน้อยบางคนจะหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อ นั่นจึงทำให้ การฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นสิ่งสำคัญ เพราะช่วยให้คุณรู้จักวิธีสังเกตและหลีกเลี่ยงข้อความที่น่าสงสัย

อะไรทำให้ฟิชชิ่งหลอกคนได้สำเร็จ?

ฟิชชิ่งได้ผลเพราะมัน “เล่นกับจิตใจมนุษย์” มิจฉาชีพรู้ดีว่าเรามักจะเชื่อใจง่าย ตอบสนองไวต่อความอยากรู้ หรือรู้สึกกังวลเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์เร่งด่วน เช่น อีเมลที่บอกว่า “บัญชีของคุณมีปัญหา” หรือ “คุณได้รับสิทธิพิเศษจำกัดเวลา” — ข้อความเหล่านี้มักกระตุ้นให้เหยื่อตัดสินใจโดยไม่ทันคิด

ปัจจุบันมีเครื่องมือแบบสำเร็จรูปให้ซื้อบนดาร์กเว็บ แฮกเกอร์สามารถส่งอีเมลปลอมไปยังเหยื่อจำนวนมากได้ภายในเวลาไม่กี่นาที เพียงแค่เหยื่อคลิกผิดครั้งเดียวข้อมูลสำคัญก็อาจตกไปอยู่ในมือของแฮกเกอร์ได้ทันที นั่นจึงเป็นเหตุผลที่คุณควรระมัดระวังก่อนคลิก (คลิกลิงก์เพื่อดูสถิติและข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับฟิชชิ่งเพิ่มเติม)

ประเภทของฟิชชิ่ง

Phishing attack prevention

Email: นี่คือกลโกงที่พบบ่อยที่สุด มิจฉาชีพจะส่งอีเมลจำนวนมาก โดยปลอมให้ดูเหมือนมาจากองค์กรที่น่าเชื่อถือได้ พวกเขาพยายาม ล่อเหยื่อให้คลิกลิงก์อันตรายหรือกรอกข้อมูลสำคัญ เช่น รหัสผ่านหรือข้อมูลทางการเงิน อยากรู้วิธีป้องกันฟิชชิ่งและหลีกเลี่ยงอีเมลปลอม? คลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม

Spear: สเปียร์ฟิชชิ่งคือ การหลอกลวงที่เจาะจงเป้าหมายโดยเฉพาะ มิจฉาชีพจะสร้างเรื่องราวหรือสถานการณ์ที่ดูน่าเชื่อถือเพื่อหลอกให้เหยื่อเปิดเผยข้อมูลสำคัญ พวกเขาอาจติดต่อผ่าน อีเมล ข้อความ แอปแชท หรือโทรศัพท์ ทำให้หลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อได้ง่ายขึ้น

Clone: ในรูปแบบนี้ มิจฉาชีพจะคัดลอกอีเมลที่คุณเคยได้รับ แล้วเปลี่ยนลิงก์หรือไฟล์แนบเป็น ของปลอมที่เป็นอันตราย พวกเขาจะเลียนแบบ โลโก้ รูปแบบ และสไตล์การเขียน ให้เหมือนอีเมลต้นฉบับมากที่สุด ทำให้คุณหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อได้อีกครั้ง โดยเป้าหมายของมิจฉาชีพคือหลอกให้คุณคลิกลิงก์อันตราย ติดตั้งมัลแวร์ หรือให้ข้อมูลสำคัญ เช่น รหัสผ่านและหมายเลขบัตรเครดิต

Pharming: ฟาร์มมิ่งเป็นวิธีหลอกลวงที่ เปลี่ยนเส้นทางจากเว็บไซต์จริงไปยังเว็บไซต์ปลอม ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อขโมยข้อมูลของคุณ เปรียบเสมือนเป็นการติดป้ายบอกทางปลอม เพื่อพาคุณไปยังหน้าเว็บที่มิจฉาชีพต้องการ บางครั้งฟาร์มมิ่งถูกเรียกว่า "Phishing without a lure" (ฟิชชิ่งที่ไม่ต้องใช้เหยื่อล่อ) เพราะเหยื่อไม่จำเป็นต้องคลิกลิงก์ปลอม แต่มิจฉาชีพสามารถเปลี่ยนเส้นทางให้คุณไปยังเว็บไซต์อันตรายได้โดยอัตโนมัติ

Whaling: เวลลิงเป็น สเปียร์ฟิชชิ่งที่มุ่งเป้าไปที่ผู้บริหารระดับสูงในองค์กร มิจฉาชีพจะแสร้งเป็น บุคคลหรือหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ เพื่อหลอกให้เหยื่อเปิดเผย ข้อมูลลับ หรือ โอนเงินไปยังบัญชีปลอม โดยอาศัยความน่าเชื่อถือของตัวบุคคลหรือองค์กรในการหลอกลวง

Angler: แองเลอร์ฟิชชิ่งเป็น กลลวงที่เกิดขึ้นบนโซเชียลมีเดีย โดยมิจฉาชีพจะแสร้งเป็น ฝ่ายบริการลูกค้าของธนาคารหรือบริษัทต่างๆ เพื่อหลอกล่อให้เหยื่อให้ข้อมูลส่วนตัว ชื่อนี้มาจาก ปลาแองเกลอร์ (Anglerfish) ที่ใช้เหยื่อล่อเหยื่อของมัน เช่นเดียวกับมิจฉาชีพที่ สร้างบัญชีปลอม เพื่อหลอกผู้ใช้ที่ต้องการความช่วยเหลือบนแพลตฟอร์ม เช่น Twitter, Facebook หรือ Instagram พวกเขาอาจส่ง ลิงก์อันตราย หรือขอข้อมูลสำคัญโดยตรงจากเหยื่อ

อันตรายจากฟิชชิ่ง

Phishing attack prevention

ฟิชชิ่ง ไม่ใช่แค่กลโกงทั่วไป แต่มันอาจสร้างความเสียหายร้ายแรงได้ หากคุณตกเป็นเหยื่อ ข้อมูลส่วนตัว รายละเอียดทางการเงิน หรือแม้แต่บัญชีของคุณอาจถูกขโมยและนำไปใช้ในทางที่ผิดการทำความเข้าใจความเสี่ยงของฟิชชิ่งและรู้ว่ามันสามารถเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง จะช่วยให้คุณตื่นตัวและป้องกันตัวเอง จากการโจมตีที่อาจส่งผลกระทบอย่างหนัก

ความเสี่ยงจากฟิชชิ่งต่อบุคคลความเสี่ยงจากฟิชชิ่งต่อองค์กร
เงินในบัญชีธนาคารถูกขโมยสูญเสียงบประมาณของบริษัท
ถูกแอบใช้บัตรเครดิตโดยไม่ได้รับอนุญาตข้อมูลส่วนตัวรั่วไหล
ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว ทั้งภาพ วิดีโอ และไฟล์ของคุณเองไม่สามารถเข้าถึงไฟล์สำคัญ
การถูกแฮ็กบัญชีเพื่อโพสต์ข้อความหลอกลวงภาพลักษณ์องค์กรเสียหาย
มิจฉาชีพปลอมตัวเป็นคุณ ทำให้เพื่อนและครอบครัวตกอยู่ในความเสี่ยงระบบล่มเป็นระยะเวลายาวนาน

วิธีป้องกันฟิชชิ่งที่ดีที่สุด

ไม่มีวิธีใดที่สามารถป้องกันฟิชชิ่งได้ 100% องค์กรควรใช้เทคโนโลยีด้านความปลอดภัยหลายรูปแบบ และวางมาตรการป้องกันหลายชั้น เพื่อลดโอกาสและผลกระทบจากการโจมตี
ผู้ใช้เองก็สามารถทำตามวิธีต่างๆ เพื่อป้องกันฟิชชิ่งและลดความเสี่ยงในการตกเป็นเหยื่อได้เช่น:

ตรวจสอบอีเมลเพื่อหาสัญญาณที่น่าสงสัย
เช็กชื่อและที่อยู่อีเมลของผู้ส่ง หากดูแปลกหรือไม่น่าไว้ใจ อย่าเปิด ระวังไฟล์แนบและลิงก์ที่อาจมีไวรัสหรือมัลแวร์ หลีกเลี่ยงการคลิกลิงก์จากอีเมลที่ไม่รู้จัก

หลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลส่วนตัว
ห้ามส่งข้อมูลสำคัญ เช่น เลขบัตรประชาชน ข้อมูลธนาคาร หรือรหัสผ่าน ทางอีเมล แม้จะเป็นคนที่คุณไว้ใจก็ตาม หากเว็บไซต์ไม่มี "https" หรือไอคอนรูปกุญแจล็อก อย่ากรอกข้อมูลหรือดาวน์โหลดไฟล์จากเว็บนั้น แม้เว็บจะดูปลอดภัยแต่ระวังไว้ดีกว่า

บล็อกอีเมลขยะ
ใช้ตัวกรองสแปมที่มีอยู่ในระบบอีเมล และพิจารณาใช้บริการกรองอีเมลจากผู้ให้บริการภายนอกเพื่อเพิ่มการควบคุมที่ดียิ่งขึ้น เพื่อลดจำนวนอีเมลขยะ ควรยกเลิกการสมัครรับอีเมลที่ไม่จำเป็น หลีกเลี่ยงการเปิดอีเมลขยะ และเก็บที่อยู่อีเมลของคุณเป็นส่วนตัว โดยเฉพาะบนเว็บไซต์สาธารณะ

ตั้งค่าความปลอดภัยของอีเมล
ตั้งค่าความปลอดภัยด้วย SPF, DKIM และ DMARC เพื่อป้องกันไม่ให้แฮกเกอร์ ปลอมแปลงอีเมลในนามขององค์กรคุณ วิธีนี้ช่วยลดความเสี่ยงจากฟิชชิ่งและการแอบอ้างเป็นตัวคุณเอง

ใช้ระบบป้องกันผ่านคลาวด์
ระบบนี้ทำให้เว็บไซต์ทำงานบนคลาวด์แทนคอมพิวเตอร์ของคุณ ช่วยลดความเสี่ยงจากมัลแวร์และไวรัสที่อาจติดมากับอีเมลหรือเว็บไซต์อันตราย

ใช้เกตเวย์เว็บที่ปลอดภัย
เกตเวย์เว็บที่ปลอดภัย (SWG) ช่วยตรวจสอบข้อมูลและการรับส่งข้อมูลในเครือข่าย ป้องกันภัยคุกคาม บล็อกคำขอที่เป็นอันตราย และป้องกันการดาวน์โหลดไฟล์อันตราย หรือการแชร์ข้อมูลสำคัญโดยไม่ตั้งใจ

ติดตั้งเครื่องมือป้องกันฟิชชิ่ง

ใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีป้องกันฟิชชิ่ง เพื่อตรวจจับและบล็อกเว็บไซต์หรืออีเมลปลอม ไฟร์วอลล์เป็นด่านป้องกันสำคัญที่ช่วยป้องกันไม่ให้แฮกเกอร์เข้าถึงระบบของคุณ การใช้ไฟร์วอลล์ทั้งในระดับคอมพิวเตอร์และเครือข่ายช่วยเพิ่มความปลอดภัยและลดความเสี่ยงจากการโจมตี

อบรมความปลอดภัยทางไซเบอร์:

เทคโนโลยีอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ พนักงานต้องมีความรู้เพื่อช่วยป้องกันฟิชชิ่งด้วย การอบรมด้านความปลอดภัยจะช่วยให้พนักงานเข้าใจความเสี่ยงของฟิชชิ่ง เรียนรู้วิธีสังเกตอีเมลปลอม และรู้วิธีแจ้งเตือนเมื่อพบสิ่งผิดปกติ ซึ่งการจำลองสถานการณ์ฟิชชิ่งเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้พนักงานฝึกรับมือกับการโจมตีจริง หากมีพนักงานหลงเชื่อในการทดสอบ ควรมีการติดตามผล เพื่ออธิบายความเสี่ยงและแนะนำวิธีป้องกันองค์กรสามารถใช้ผลจากการจำลองนี้ เพื่อปรับปรุงมาตรการรักษาความปลอดภัยและพัฒนาแผนการฝึกอบรมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ลดความเสี่ยงจากการโจมตีฟิชชิ่งในอนาคต

การป้องกันฟิชชิ่งอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องอาศัย ความระมัดระวัง การใช้เครื่องมือความปลอดภัยที่ทันสมัย และการให้ความรู้กับตัวเองและทีมเข้าใจประเภทของฟิชชิ่งและมีมาตรการป้องกันที่ดี ความเสี่ยงจากการถูกโจมตีก็จะลดลงอย่างมาก!